วันอาทิตย์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2555

มาดูหอพักนักเรียน Neerja Modi School

นานเกิ๊นกว่าจะทุลักทุเลเขียนบล๊อก แปะรูปอะไรงี้ได้  วัยล่วงเลยการใช้เทคโนโลยีง่ะ  ผิดๆถูกๆมั่วไปไม่รู้

วันนี้ตั้งใจจะเอารูปหอพักมาให้ดู  ดูเลยก็แล้วกัน

นี่คือห้องนั่งเล่น อยู่ชั้นล่างของหอพัก  ปกติว่างๆนะ
ไม่ใคร่เห็นใครมาใช้ นอกจากเวลาทำโยคะเช้าๆ  โยคะนี่ก็บางทีก็ไปทำในสนามหน้าตึก  บางวันก็ทำในห้องนี้  สงสัยจะแล้วแต่ครูนะ วันอาทิตย์มีนักเรียนมานั่งดูทีวีกันบ้าง






ในหอพัก  สะอาดงี้ทุกชั้นจริง  บางชั้นต้องเดินย่องๆ เพราะคุณแม่บ้าน เธอลงแว๊ก (จริ๊งงง  เห็นกะตาเลย) แทบทู้กกกวัน  เดินแล้วกลัวจะลื่น
นี่ห้องนอนค่ะ  ห้องละ 4 คน  บางห้องก็ไม่ถึง 4 คนนะ  ที่รู้เพราะ วันนึง ได้เห็นสาวน้อยสองคนมาร้องเรียน เอ๊ย เรียกร้องว่า ที่จะส่งนักเรียนใหม่มานอนในห้องเจ้าหล่อนอีกคน ( ซึ่งมีกันแล้ว 3 คน ) จะทำให้ห้องคับแคบ เพราะเจ้าหล่อนมีของแยะ ( แน่ะ แอบแรงนะตัวเอง) และเจ้าหล่อนก็เรียนชั้น 12 ต้องการความสงบในการอ่านหนังสือ คนที่เจ้าหล่อนไปเรียกร้องด้วย คือ director ฝ่ายอะไรสักฝ่ายนึง  ซึ่งคำตอบก็ดูเหมือนประนีประนอมไงๆนะขณะเดียวกัน วันเดียวกัน หนุ่มน้อยจากเมืองไทยก็มาเรียกร้องขอห้องเดี่ยว เพราะต้องการอ่านหนังสือเตรียมสอบเหมือนกัน  รายนี้คุณไดเรคเตอร์พนักหน้าอนุญาต จะดำเนินการให้ เหมือนลำเอียงแฮะ  แต่ก็แอบเข้าใจอยู่เหมือนกันว่า  ค่าเรียนเด็กต่างชาติแพงกว่าเด็กท้องถิ่น (อินเดีย) น่ะ

เข้าห้องมา ประตูนี้  ก่อนถึงเตียงนอน ด้านซ้ายที่เห็นคือ ห้องน้ำเปิดเข้าไปเจออ่างล้างหน้า ห้องอาบน้ำ ห้องส้วม 





ขออำไพนะคร้า  ถึงแก่การโชว์ส้วมกันเลยทีเดียว
ห้องนอนเหล่านี้จะมีแม่บ้านเข้ามาทำความสะอาดให้  ห้องที่ถ่ายทำมานี้ คือห้องพักนักเรียนที่ว่าง แล้วโรงเรียนก็เอื้อเฟื้อให้อีชั้นมาพัก  เตียงนอนจึงเรี่ยมหน่อย  เพราะถ่ายรูปเอง  เกรงใจ๊ เกรงใจท่านผู้อ่าน เท่าที่แอบไปชะโงกดูห้องหนุ่มน้อยข้างๆ แฮะๆ ห้องสะอาดดีหรอก  แต่เตียงรกๆ หน่อย ก็เรื่องของเจ้าของเตียงล่ะนะ  มีผ้าพาดที่ราวพาดผ้า  ออกแนวโปะๆหน่อย  แต่ไม่ขนาดกองนะ หมายถึงพาดแบบลวกๆน่ะ   รู้สึกพิลึกเหมือนกันว่าตัวเองช่างสอด...เอ่อออ ส่ายสายตามากไปหน่อย

ทุกชั้นจะมีคุณครูดูแลชั้นละคนเลยนะ และมีคุณครูหัวหน้าใหญ่ด้วย ใครเข้าออกก็ต้องเซ็น ต้องเช็ค เพราะประตูทางเข้าตึก ต้องผ่านรปภ.ผลัดเวร 24 ชั่วโมง  อันนี้ไม่ได้ถามใครนะ  สังเกตเอาเอง

เรื่องหอพักนักเรียนนี่ อยากให้ 10 คะแนนนะ สะอาด สวยงาม อยากเทียบกับโรงแรม 4 ดาวด้วยซ้ำ


ภาพนี้คือทางลงชั้นล่างของหอพักจากภายนอกอาคาร ลงไปจะเป็นห้องอาหาร  สะอาด โล่ง โปร่งตา
 สรุป  บรรยากาศดี  
อาหารอร่อย ใช้ได้เชียว

ภาพขวานี่ บรรยากาศ อาหารเช้า  เป็นบุฟเฟต์นะคะ  มีอาหารหลายอย่างล่ะ ข้าวก็มี แต่เด็กส่วนมากกินขนมปัง และอาหารจำพวก ออมเล็ต
 เหยือกน้ำ เหยือกนม อยู่บนโต๊ะแล้ว  รินใส่แก้วได้เลย  มีผงจำพวกโกโก้ วานิลา ให้ผสมนม  ทุกอย่างเติมได้
นี่ค่ะ  ไปเลือกตักมาแบบนี้ หนุ่มขวาสองคนกำลังปิ้งขนมปังบริการ  เป็นเจ้าหน้าที่แผนกครัว  คุณครู ( ซ้ายในสุด) ก็ทานอาหารพร้อมๆนักเรียน  แบบเดียวกันด้วย  เสมอภาค อิ อิ

วันศุกร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

คุยกันเรื่องโรงเรียนอินเดีย Neerja Modi School

กลับมาคุยเรื่องโรงเรียนแขกกันหน่อย  ทิ้งไว้นาน  เดี๋ยวจะลืมอารมณ์ (นั้น) ไปหมด

โรงเรียน Neerja Modi ที่พบเห็นในหน้าร้อน  อากาศร้อนจริง อุณหภูมิที่ไจเปอร์น่าจะล้ำเมืองไทยไปหน่อยๆ  เปรียบเทียบด้วยความรู้สึก เฉพาะกรุงเทพฯ เพราะสัมผัสแค่ที่นี่เอง  และแห้ง  ทั้งที่โรงเรียนก็มีสนามหญ้า ต้นไม้  แต่ดูแสงแรง จนไม่อยากออกไปไหน  ดีหน่อยที่ว่า ออกแดดแล้ว ก็ไม่มีเหงื่อ  ทำไมล่ะก้ะ  อ๊ะ อ๊ะ  ก็มันแห้งไงล่ะ สำหรับสาวส.ว. ที่สวมแว่น รู้สึกดี ดีเหมือนกัน ไม่ต้องถอดแว่นมาซับเหงื่อที่ตา  แบบนี้เรียกว่าโพสสิทีฟ ธิ้งกิ้งนะ


ภาพนี้คือบรรดาคุณแม่บ้าน คนงานที่อาคารเรียน เดินมาปะกัน  คุณเธอเต็มใจให้ถ่ายรูปมาก



พอนักเรียนเข้าห้องเรียน บรรดาคนงานก็กวาด กวาด กวาด ทราย รักษาความสะอาดได้ดี (แบบใช้งานจริง ไม่ใช่ แค่โชว์ )   ส่วนที่หอพัก เมื่อนักเรียนไปโรงเรียนหมด เหล่าคนงาน ก็กวาดถู ขัดมัน ลงแว๊ก ไปอยู่กับเขามาสิบวัน  เห็นคุณ ไบจี ( หญิงรับใช้ ) ขัดพื้นทู้กกกกวัน  โรงเรียนนี้ก็คนงานมากจริงๆ ทั้งตึกเรียน ตึกนอน ห้องครัว ภาคสนาม เอ่ออออ ถามมาหลายครั้งแล้ว ก็จำจำนวนได้ไม่แน่ชัด เพราะคนตอบก็รู้เฉพาะใต้สังกัดของตนเอง

ซักไซร้กันมาแล้ว พบว่าฤดูหนาว อุณหภูมิอยู่ที่ 1-3 องศา  แม่จ้าวววว  แต่ไม่เข็ดหรอกนะ ไปเยี่ยมหน้าร้อนแล้ว  หน้าหนาว จะลองแวะไปอีกสักครั้ง  เพื่อเปรียบเทียบ อารมณ์และความรู้สึก

โรงเรียน Neerja Modi  มีการสอนหลายหลักสูตร  ที่ยอดนิยมก็คงจะหลักสูตร CBSE ( Central Board of Secondary Education)คือ หลักสุตรของอินเดียนั่นล่ะ ทุกวิชา ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการเรียน  เคยเห็นเอกสารประกอบการเรียนของเด็ก (แขก ) คนหนึ่ง วิชาภาษาฮินดี  ให้เขียนคำศัพท์ มีรูปภาพ และภาษาอังกฤษ ประกอบ  อ่ะจ้ะ  หลักสูตรนี้ ยอดนิยมในหมู่อินเดียชน เพราะเห็นพ่อหนุ่ม
( ไม่ใคร่ได้เจอสาวๆมาแวะมาคุย) บางคนถือสัญชาติ อเมริกัน มาจากนิวยอร์คโน่น  พ่อยังส่งมาเรียนที่นี่  เลือดรักชาติ รักวัฒนธรรม คงแรงจัด  น้องนักเรียนบอกว่ามีอีกหลายคน สัญชาติญี่ปุ่น สัญชาติไทยอะไรงี้  แต่พ่อแม่ส่งมาเรียนหลักสูตรอินเดียที่นี่   หลักสูตรที่สอง  ดูท่าทางความนิยมเริ่มเพิ่มขึ้น คือ หลักสูตรอังกฤษ  จากที่อ่านในเว็บไซด์บอกว่าเปิดตั้งแต่ชั้น ป.6   แต่ที่ไปดูมา เริ่มเปิดสอนตั้งแต่ ป. 1 ในห้องก็มีนักเรียนประมาณ 20 คนต่อห้อง  แสดงว่าได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น  คุณครูสาริตา หัวหน้าแผนกนี้ นำชมห้องเรียน  น่าเสียดายที่ไม่ได้ถ่ายรูปคุณครุมา เพราะสวย เก่ง พูดจาฉะฉานคล่องแคล่ว ด้วยภาษาอังกฤษสำเนียงบริติช  แต่แอบเร็วปรื๋อ โดยส่วนตัว คิดว่าเด็กไทยมาเรียนเมืองแขก ก็เรียนหลักสูตรแขกจะเป็นไรไป  หลักสูตรอังกฤษ เรียนที่ไหนก็ได้  เมืองไทยก็มี  แต่คุณครูแสดงแง่คิดได้ดี อือมม์  เข้าถึงแนวคิดหลักของหลักสูตรเชียวล่ะ  แจงความแตกต่างระหว่างหลักสูตรอินเดียและอังกฤษได้ชัดเจน  จนเห็นด้วยเลยเชียว  ลูกสาวคุณครูก็เรียนชั้นป.2 ในห้องที่พวกเราไปเยี่ยมชม อันที่จริงก็ชมแทบทุกห้อง  แต่เจอนักเรียนบ้าง เจอห้องว่างๆบ้าง เพราะเด็กไปเรียนวิชาอื่นๆ    หลักสูตรที่เพิ่งเปิด คือ หลักสูตรที่หลายคน (รวมทั้งนักวิชาการไทย) ปลื้ม คือ หลักสูตร IB  (  International Baccalaureate ) ของสวิสเซอร์แลนด์  หลักสูตรนี้เพิ่งเปิด และมีแต่ระดับชั้น 11- 12  ไม่ทราบมีนักเรียนกี่คน  เห็นพ่อหนุ่มที่เรียนหลักสูตรนี้อยู่คนนึง ไม่มีโอกาสคุย เพราะฮีขยันออกกำลังกาย และดูจะเป็นคนรักสงบ มีโลกส่วนตัว แหะๆ ไม่กล้าเข้าไปคุยด้วย  พ่อคนนี้ไม่ได้ถือสัญชาติอินเดีย  จำไม่ได้ว่าอเมริกัน หรือ อังกฤษ  มีคุณครูบอกมาแล้ว  แต่ข้าพเจ้า....ลืม..... ตามเคย



รูปนี้ชั้นเรียน ป. 2 (มั๊ง) CBSE

วันเสาร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2555

ว่าด้วยบริเวณโรงเรียน Neerja Modi อีกรอบ









เอ๊ากลับหลังหัน เดินตัดสนามหญ้าอันกว้างใหญ่  เป็นสนามบอล สนามคริกเก็ต ก็จะเจอหอพักนักเรียนเป็นตึกเชื่อมต่อกันไป  เดิมชายตึกนึง หญิงตึกนึง เดี๋ยวนี้นักเรียนหญิงไปอยู่ชั้น 4 อย่าเพ่อหวาดเสียว เข้าออกคนละทางเน่อะ  แต่ละชั้นมีประตูกั้น  มีครูดูแลกำกับทุกชั้น  ชั้นละคนว่างั้นเถอะ  และมีครูดูแลนักเรียนโดยเฉพาะอีก ชั้นล่างสุด คล้ายจะเป็นห้องใต้ดินนะ แต่ไม่ใช่ เพราะโรงเรียนอยู่บนเนินสูงๆบ้างต่ำบ้าง ที่ต่ำก็เหมือนชั้นใต้ดิน เป็นห้องอาหาร ใกล้ๆกับตึกหอพัก มีตึกอะไรสักอย่าง ฟังคำอธิบายแล้ว งง งง  คือ ประมาณตึกเกียรติประวัติ ของนักเรียนที่ชนะกีฬามาน่ะ  ชั้นใต้ดินเป็นโรงครัว  ถัดจากตึกนี้ก็เป็นสระว่ายน้ำ  กลางวันเห็นคุณครูประจำชั้นพานักเรียนเดิน ตลอดวัน  ตกเย็นบ่าย 5 โมงเป็นเวลากีฬา  หลานอีชั้นก็เป็นหนึ่งในพวกกุลีกุจอมานั่งประตูสระเปิดเหมือนกัน  ระหว่างตึกหอพัก กับตึกเกียรติประวัติ ( อันนี้เรียกเอาเองนะ ) มีบันไดเดินลงไปสวนหลังโรงเรียน เดินชมดอกไม้ไปสัก 200 เมตร ถึงสนามฝึกขี่ม้า

ชมอาคารสถานที่ โรงเรียน Neerja Modi ตอนสอง







กลับไปยืนที่เดิม หันหน้าหาอาคารอำนวยการ ซ้ายมือ เป็นตึกเด็กเล็กอนุบาล และชั้นประถมของ หลักสูตร IGCSE  ตึกนี่ ข้างในน่ารักน่าเล่น เอ๊ย น่าเรียน   หน้าตึกมีลาน ให้ผู้ปกครองที่มาส่งลูกน้อยกลอยใจนั่งเฝ้าลูกด้วยล่ะ ออกจากตึกนี้ ซ้ายหัน เดินไปไมถึงร้อยเมตร (มั๊ง ) ไปตึกเด็กประถม ของหลักสูตร CBSE  ชอบสีสันข้างในมาก ฝาผนัง พื้น มีสีสันลวดลาย  หมายเหตุ ลืมบอกว่า ที่ชะโงกๆดูน่ะ เขาติดแอร์ทุกห้องเลยแฮะ  บระเจ้าช่วย  ค่าไฟเท่าไรกันเนี่ย 
หมดสี่ตึกแถวนี้  เดินต่อไปอีก ไปอีก ผ่านสนามบาส สนามเทนนิส สนามซ้อมคริกเก็ต สนามว่างๆ  ก็ไปถึงตึกที่กำลังสร้าง เป็นตึกที่นักเรียนชั้น 10 -12 เรียนอยู่ในส่วนที่สร้างเสร็จแล้ว  ส่วนที่ขยายเพิ่มนั้น รองรับหลักสูตร IB ด้วย
ท่านผู้ใด สงสัยว่า อะไรกะหลักสูตรนักหนาเฮอะ  ค่อยมาเล่ากันในตอนต่อๆๆๆไป
ขออภัยกับการลงรูป  ประสามือใหม่ แต่นัยน์ตาแก่  รุปก็ถ่ายมาเอง มะงุมมะงาหราดาวน์โหลดอัพโหลดเอง มองไม่ออกว่ารูปไรมั่ง เฮ้ออออ  จึงมีรูปห้องอาหารไปปนกับตึกเรียน  เอาเข้านั่น

ชมโรงเรียนนีรจา โมดิ Neerja Modi School




อันที่จริงประเด็นหลักอยู่ที่นี่  จินนี่ออกจากขวดมา เพื่อพาหลานมาเรียนซัมเมอร์ ( และตกปากรับคำมาถล่มเพื่อน )  ประสาคนเบี้ยน้อย ยัยน้องจะส่งลูกไปอังกฤษ อเมริกา แคนาดา ไปยาลใหญ่ หาได้ไม่ เลือกที่เหมาะเจาะกับกำลังทรัพย์ และเหตุผลอื่น  วงเล็บ หมายถึง การสร้างวินัย ไม่ฟุ้งเฟ้อ อะไรพันนี้  วงเล็บอีกที นี่คุณน้องเธอคิดเอง คุณพี่  ซึ่งคืออีชั้นเองล้ะก้ะ ก็เห็นด้วย ประสาคนเคยส่งลูกเรียนเมืองแขก 

เรามาถึงโรงเรียน Neerja Modi  ตอนเย็นย่ำ ประมาณ  6 โมง คะเนว่า ใช้เวลาเดินทางจากนิวเดลลีประมาณ 5 ชั่วโมง นี่คือรวมการหยุดพักเข้าห้องน้ำ แวะร้านแมคโดนัลด์ซื้อแฮมเบอร์เกอร์  รับทาน พลขับแวะซื้อน้ำดื่ม  และแวะลงไปเช็ดอ้วก แหะๆ  หนึ่งในคณะ เป็นหนุ่มน้อย รับประทานมากไปนิดนึง เจอกับสภาพถนนเขย่าๆ  ของเหลวในร่างกายพุ่งออกมาโดยมิได้แจ้งล่วงหน้า  ต้องพักรถไปทำความสะอาดกันพักนึง   แล้วเราก็มาถึงโรงเรียน เมื่อลำแสง ดวงอาทิตย์ ลดดีกรีความร้อนแรงไปบ้างแล้ว

อะฮ่า แปลกแต่จริง มาถึงหน้าโรงเรียน เห็นภาพโรงเรียนจากรูป จึงจำได้ สอดส่ายสายตามองหาป้ายชื่อโรงเรียน  ไม่ยักเห็น สอดส่ายอยู่หลายวัน คิดว่าป้ายคงอยู่ที่รั้วด้านหนึ่งด้านใดล่ะ คงเดินไม่ทั่วเอง  เพราะโรงเรียนใหญ่โต  แต่วันหลังมาแจ้งใจจากครู และน้องนักเรียนไทยว่า โรงเรียนนี้ไม่มีป้ายชื่อหน้าโรงเรียนล่ะ  แต่ถ้าบอกออโต้ริกชอว์มาโรงเรียนนีรจา เป็นอันว่ามาถูก Ma’amวันทนา แปลว่า คุณครูวันทนา บอกว่าโรงเรียนมีชื่อเสียงมาก ใครๆก็มาถูก ไม่ต้องมีป้ายชื่อ  อ่ะนะ ช่างคิดดี  ก็คงจะจริงอย่างเขาว่า เท่าไปสิงสถิตอยู่กับเขามา ร่วม 10 วัน เห็นผู้ปกครองมากันตรึม   กลับมาเรื่องป้ายอีกหน่อย  เพราะให้ประจักษ์ด้วยตาตนเอง  เย็นวันหนึ่ง จึงออกเดินเลียบรั้วโรงเรียน ไล่ครบ 6 ประตู ( ที่มีรปภ.ครบ จะเข้าออกก็ต้องบอกเล่ากันก่อน ) ไม่พบป้ายชื่อโรงเรียนจริงๆ  เอากะเขาซี่

ชมอาคารสถานที่ โรงเรียน Neerja Modi ตอนหนึ่ง


หน้านี้ขออุทิศให้เรื่องอาคารต่างๆก่อน  เรื่องอื่นค่อยเม้าท์  
เอาเป็นว่า เป็นรูปอาคารสถานที่ของโรงเรียนนะจ๊ะ  คือมองจากไกล ก็จะเห็นภาพอาคารสีขาวตั้งรวมกัน  อาคารสำนักงาน เป็นที่ตั้งของห้องผู้อำนวยการ ครูใหญ่ ไรๆงี้  และเป็นที่เรียนของนักเรียนหลักสูตรอังกฤษของ Cambridge (  A level หรือ IGCSE พวกเตรียมสอบ ) และเป็นห้องเรียนดนตรี แบ่งซอยเป็นห้องเก็บเสียง ห้องเล็กบ้าง ใหญ่บ้าง แล้วชนิดของดนตรี   ถ้าหันหน้าเข้าหาอาคารอำนวยการนี้ ด้านขวา ก็เป็นอาคารที่เรียกว่า main building เป็นตึกเรียนของนักเรียน ชั้น ป. 3 ( บางห้อง ) ไปถึง ชั้น ป.9 ( ม.2 ) ประมาณนั้น รวมทั้งมีห้องแลปวิทยาศาสตร์  ห้องคอมพิวเตอร์ ( จำไม่ได้ว่ามีกี่ห้อง เท่าที่เดินหลงไปหลงมา อย่างน้อยก็ 4 ห้องล่ะ ) ห้องสมุด  ชั้นล่างสุดเป็นห้องโถง ครูๆมารับประทานอาหารเที่ยงกันที่นี่  ไม่ได้ถามว่าฟรี หรือไร  ไม่กล้าถาม แลจะละลาบละล้วงมากไป  ทั้งที่ก็อยากรู้   ชั้นล่างนี้มีห้องทำโยคะด้วย และมีโต๊ะปิงปองตั้งอยู่  จำไม่ได้ว่ากี่โต๊ะ ( ลืมนับ ) 

ชมโรงเรียนนีรจา โมดิ Neerja Modi School



อันที่จริงประเด็นหลักอยู่ที่นี่  จินนี่ออกจากขวดมา เพื่อพาหลานมาเรียนซัมเมอร์ ( และตกปากรับคำมาถล่มเพื่อน )  ประสาคนเบี้ยน้อย ยัยน้องจะส่งลูกไปอังกฤษ อเมริกา แคนาดา ไปยาลใหญ่ หาได้ไม่ เลือกที่เหมาะเจาะกับกำลังทรัพย์ และเหตุผลอื่น  วงเล็บ หมายถึง การสร้างวินัย ไม่ฟุ้งเฟ้อ อะไรพันนี้  วงเล็บอีกที นี่คุณน้องเธอคิดเอง คุณพี่  ซึ่งคืออีชั้นเองล้ะก้ะ ก็เห็นด้วย ประสาคนเคยส่งลูกเรียนเมืองแขก 

เรามาถึงโรงเรียน Neerja Modi  ตอนเย็นย่ำ ประมาณ  6 โมง คะเนว่า ใช้เวลาเดินทางจากนิวเดลลีประมาณ 5 ชั่วโมง นี่คือรวมการหยุดพักเข้าห้องน้ำ แวะร้านแมคโดนัลด์ซื้อแฮมเบอร์เกอร์  รับทาน พลขับแวะซื้อน้ำดื่ม  และแวะลงไปเช็ดอ้วก แหะๆ  หนึ่งในคณะ เป็นหนุ่มน้อย รับประทานมากไปนิดนึง เจอกับสภาพถนนเขย่าๆ  ของเหลวในร่างกายพุ่งออกมาโดยมิได้แจ้งล่วงหน้า  ต้องพักรถไปทำความสะอาดกันพักนึง   แล้วเราก็มาถึงโรงเรียน เมื่อลำแสง ดวงอาทิตย์ ลดดีกรีความร้อนแรงไปบ้างแล้ว

อะฮ่า แปลกแต่จริง มาถึงหน้าโรงเรียน เห็นภาพโรงเรียนจากรูป จึงจำได้ สอดส่ายสายตามองหาป้ายชื่อโรงเรียน  ไม่ยักเห็น สอดส่ายอยู่หลายวัน คิดว่าป้ายคงอยู่ที่รั้วด้านหนึ่งด้านใดล่ะ คงเดินไม่ทั่วเอง  เพราะโรงเรียนใหญ่โต  แต่วันหลังมาแจ้งใจจากครู และน้องนักเรียนไทยว่า โรงเรียนนี้ไม่มีป้ายชื่อหน้าโรงเรียนล่ะ  แต่ถ้าบอกออโต้ริกชอว์มาโรงเรียนนีรจา เป็นอันว่ามาถูก Ma’amวันทนา แปลว่า คุณครูวันทนา บอกว่าโรงเรียนมีชื่อเสียงมาก ใครๆก็มาถูก ไม่ต้องมีป้ายชื่อ  อ่ะนะ ช่างคิดดี  ก็คงจะจริงอย่างเขาว่า เท่าไปสิงสถิตอยู่กับเขามา ร่วม 10 วัน เห็นผู้ปกครองมากันตรึม   กลับมาเรื่องป้ายอีกหน่อย  เพราะให้ประจักษ์ด้วยตาตนเอง  เย็นวันหนึ่ง จึงออกเดินเลียบรั้วโรงเรียน ไล่ครบ 6 ประตู ( ที่มีรปภ.ครบ จะเข้าออกก็ต้องบอกเล่ากันก่อน ) ไม่พบป้ายชื่อโรงเรียนจริงๆ  เอิ่มมมมม  นะ