กลับมาคุยเรื่องโรงเรียนแขกกันหน่อย ทิ้งไว้นาน เดี๋ยวจะลืมอารมณ์ (นั้น) ไปหมด
โรงเรียน Neerja Modi ที่พบเห็นในหน้าร้อน อากาศร้อนจริง อุณหภูมิที่ไจเปอร์น่าจะล้ำเมืองไทยไปหน่อยๆ เปรียบเทียบด้วยความรู้สึก เฉพาะกรุงเทพฯ เพราะสัมผัสแค่ที่นี่เอง และแห้ง ทั้งที่โรงเรียนก็มีสนามหญ้า ต้นไม้ แต่ดูแสงแรง จนไม่อยากออกไปไหน ดีหน่อยที่ว่า ออกแดดแล้ว ก็ไม่มีเหงื่อ ทำไมล่ะก้ะ อ๊ะ อ๊ะ ก็มันแห้งไงล่ะ สำหรับสาวส.ว. ที่สวมแว่น รู้สึกดี ดีเหมือนกัน ไม่ต้องถอดแว่นมาซับเหงื่อที่ตา แบบนี้เรียกว่าโพสสิทีฟ ธิ้งกิ้งนะ
ภาพนี้คือบรรดาคุณแม่บ้าน คนงานที่อาคารเรียน เดินมาปะกัน คุณเธอเต็มใจให้ถ่ายรูปมาก
พอนักเรียนเข้าห้องเรียน บรรดาคนงานก็กวาด กวาด กวาด ทราย รักษาความสะอาดได้ดี (แบบใช้งานจริง ไม่ใช่ แค่โชว์ ) ส่วนที่หอพัก เมื่อนักเรียนไปโรงเรียนหมด เหล่าคนงาน ก็กวาดถู ขัดมัน ลงแว๊ก ไปอยู่กับเขามาสิบวัน เห็นคุณ ไบจี ( หญิงรับใช้ ) ขัดพื้นทู้กกกกวัน โรงเรียนนี้ก็คนงานมากจริงๆ ทั้งตึกเรียน ตึกนอน ห้องครัว ภาคสนาม เอ่ออออ ถามมาหลายครั้งแล้ว ก็จำจำนวนได้ไม่แน่ชัด เพราะคนตอบก็รู้เฉพาะใต้สังกัดของตนเอง
ซักไซร้กันมาแล้ว พบว่าฤดูหนาว อุณหภูมิอยู่ที่ 1-3 องศา แม่จ้าวววว แต่ไม่เข็ดหรอกนะ ไปเยี่ยมหน้าร้อนแล้ว หน้าหนาว จะลองแวะไปอีกสักครั้ง เพื่อเปรียบเทียบ อารมณ์และความรู้สึก
โรงเรียน Neerja Modi มีการสอนหลายหลักสูตร ที่ยอดนิยมก็คงจะหลักสูตร CBSE ( Central Board of Secondary Education)คือ หลักสุตรของอินเดียนั่นล่ะ ทุกวิชา ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการเรียน เคยเห็นเอกสารประกอบการเรียนของเด็ก (แขก ) คนหนึ่ง วิชาภาษาฮินดี ให้เขียนคำศัพท์ มีรูปภาพ และภาษาอังกฤษ ประกอบ อ่ะจ้ะ หลักสูตรนี้ ยอดนิยมในหมู่อินเดียชน เพราะเห็นพ่อหนุ่ม
( ไม่ใคร่ได้เจอสาวๆมาแวะมาคุย) บางคนถือสัญชาติ อเมริกัน มาจากนิวยอร์คโน่น พ่อยังส่งมาเรียนที่นี่ เลือดรักชาติ รักวัฒนธรรม คงแรงจัด น้องนักเรียนบอกว่ามีอีกหลายคน สัญชาติญี่ปุ่น สัญชาติไทยอะไรงี้ แต่พ่อแม่ส่งมาเรียนหลักสูตรอินเดียที่นี่ หลักสูตรที่สอง ดูท่าทางความนิยมเริ่มเพิ่มขึ้น คือ หลักสูตรอังกฤษ จากที่อ่านในเว็บไซด์บอกว่าเปิดตั้งแต่ชั้น ป.6 แต่ที่ไปดูมา เริ่มเปิดสอนตั้งแต่ ป. 1 ในห้องก็มีนักเรียนประมาณ 20 คนต่อห้อง แสดงว่าได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น คุณครูสาริตา หัวหน้าแผนกนี้ นำชมห้องเรียน น่าเสียดายที่ไม่ได้ถ่ายรูปคุณครุมา เพราะสวย เก่ง พูดจาฉะฉานคล่องแคล่ว ด้วยภาษาอังกฤษสำเนียงบริติช แต่แอบเร็วปรื๋อ โดยส่วนตัว คิดว่าเด็กไทยมาเรียนเมืองแขก ก็เรียนหลักสูตรแขกจะเป็นไรไป หลักสูตรอังกฤษ เรียนที่ไหนก็ได้ เมืองไทยก็มี แต่คุณครูแสดงแง่คิดได้ดี อือมม์ เข้าถึงแนวคิดหลักของหลักสูตรเชียวล่ะ แจงความแตกต่างระหว่างหลักสูตรอินเดียและอังกฤษได้ชัดเจน จนเห็นด้วยเลยเชียว ลูกสาวคุณครูก็เรียนชั้นป.2 ในห้องที่พวกเราไปเยี่ยมชม อันที่จริงก็ชมแทบทุกห้อง แต่เจอนักเรียนบ้าง เจอห้องว่างๆบ้าง เพราะเด็กไปเรียนวิชาอื่นๆ หลักสูตรที่เพิ่งเปิด คือ หลักสูตรที่หลายคน (รวมทั้งนักวิชาการไทย) ปลื้ม คือ หลักสูตร IB ( International Baccalaureate ) ของสวิสเซอร์แลนด์ หลักสูตรนี้เพิ่งเปิด และมีแต่ระดับชั้น 11- 12 ไม่ทราบมีนักเรียนกี่คน เห็นพ่อหนุ่มที่เรียนหลักสูตรนี้อยู่คนนึง ไม่มีโอกาสคุย เพราะฮีขยันออกกำลังกาย และดูจะเป็นคนรักสงบ มีโลกส่วนตัว แหะๆ ไม่กล้าเข้าไปคุยด้วย พ่อคนนี้ไม่ได้ถือสัญชาติอินเดีย จำไม่ได้ว่าอเมริกัน หรือ อังกฤษ มีคุณครูบอกมาแล้ว แต่ข้าพเจ้า....ลืม..... ตามเคย
รูปนี้ชั้นเรียน ป. 2 (มั๊ง) CBSE