การเดินทางกลางวันยังร้อนไม่พอ
เพื่อให้รู้ชัดกันไป คณะเราออกเดินทางเที่ยงวัน ด้วยรถแวนคันเล็ก ซึ่งจะเป็นแบรนด์ใดไปไม่ได้ ออกจากสนามบิน ถนนสวยๆ รุปปั้นสวยๆ
ดอกไม้สวยๆ
ตามธรรมเนียมของสนามทั่วโลก
ไปสู่ถนนใหญ่ ตึกใหญ่ นี่เป็นส่วนหนึ่งของเมืองหลวง แล้วเรา ก็สู่ถนนเชื่อมต่อระหว่างเมือง ไปสู่ถนนเล็กบ้าง ใหญ่บ้าง
กำลังสร้างเพิ่มเติมบ้าง
นั่งชมวิวทิวทัศน์ เมื่อเข้าเขตชุมชนรถจะแออัดคับคั่งเป้นที่ยิ่ง นั่งดูการคมนาคมตรงหน้า แล้วสรุปเองว่า
คนอินเดียนี่เสมอภาคกันดี
ทุกคนที่เสียภาษีก็ได้ใช้ถนนร่วมกัน
การจราจรบนถนนจึงมีทั้งรถเก๋ง
รถตู้ รถบรรทุก รถตุ๊กๆ รถสองแถว
มอเตอร์ไซด์ม้า ลา อูฐ
นอกจาก ทาทา
อะไรๆในอินเดียก็พะยี่ห้อทาทาทั้งนั้น
นี่หมายถึงเครื่องใช้ ไฟ ฟ้า
และเครื่องจักรยนต์นะ
รถส่วนใหญ่ที่แออัดอยู่บนถนนเป็นยี่ห้อทาทาเป็นส่วนใหญ่ มีฮอนด้า โตโยต้า และฮุนไดแบ่งตลาดไปเล็กน้อย เป็นรถเล็กสำหรับใช้ในเมืองเป็นส่วนใหญ่ เพราะนอกจากนั้นแล้วก็ พี่รถบรรทุกครองถนน ทั้ง6 ล้อ 8
ล้อ 10 ล้อ
รถเทรลเลอร์ที่ยาวกว่า 5 เมตร นี่คะเนเอาจากสายตา
นับไม่ทันว่ามีมากกว่า 10 ล้อหรือเปล่า ถัดจากรถบรรทุก เป็นรถอื่นๆ ไม่สังกัดแบรนด์ อาทิ รถออโต้ริกชอว์
( ทำนองเดียวกับตุ๊กตุ๊กบ้านเรา) รถสามล้อ รถจักรยานยนต์ รถจักรยาน รถม้า เกวียนเทียมลา ( เกวียนที่ลากด้วยลา
) เกวียนเทียมอูฐ ( เกวียนที่ลากด้วยอูฐ
) บทท้องถนนในชุมชนก็จะมีคนเดินตามไหล่ทาง ขอบทาง มิเกรงรถกันเลย นั่งรถไปก็คอยเหยียบเบรกแทนพลขับ ยังนึกเลยว่า
ถ้านั่งรถคันนี้คันเดียวตลอดทริปนี้
พื้นรถคงเป็นหลุมแน่ แน่
รถทุกชนิด พี่ท่านสามารถวิ่งดาหน้าบนท้องถนนได้อย่างพร้อมเพรียงกันทุกเลน เอ่อ
มีเลนให้วิ่งด้วยรึ ในอินเดียเนี่ย
นี่คำถามที่ทบทวนในใจ
ก็เห็นอยู่บ้างนะ แต่น้อย ส่วนใหญ่ไม่มีรอยขีดขาวๆ
ที่เรียกว่า เลน หรอกนะ เขาก็ขับกันไปแซงกันไป ปาดกันไป แต่ไม่มีใครตะโกนด่า หรือ ยกนิ้วกลาง (ชื่นชม?) ให้กันหรอก เขาก็แบ่งๆกันไป ถ้อยทีถ้อยอาศัย
น่าเอ็นดู๊ เดินทางในอินเดียทีไร
คิดถึงน้องชาย ( ที่ไม่เคยไปด้วย ) ทุกครั้ง
เพราะน้องเป็นจอมยุทธคนหนึ่งเหมือนกัน
ขับรถได้รับคำสรรเสริญจากผู้ร่วมเดินทาง( ที่ไม่เคยคุ้น) เสมอๆ อึ่ม ถ้าแกแน่จริง มาขับรถที่นี่เล้ย
ระหว่างทางจากนิวเดลลีไปไจเปอร์
เหล่าเราก็นั่งชมทิวทัศน์ ที่ส่วนใหญ่จะเป็นทุ่งนา และทุ่งโล่ง มีบ้านเรือนคนเป็นระยะๆ อาคารที่นี่ก่อสร้างง่ายๆเป็นทรงกล่องๆ หน้าต่างไม่กว้างนัก ผนังเป็นอิฐเปลือยเยอะอยู่ จึงได้เห็นว่าบ้านเหล่านี้มักใช้อิฐก้อน
สีส้มแดงเหมือนที่เราเคยใช้ แน่นหนามาก
ดูทนทาน ถ้าผ่านตลาด ก็จะมีคนคึกคัก รถขายผลไม้จะเห็นมากกว่าอย่างอื่น
เท่าที่เห็นก็ กล้วยหอม ส้ม มะพร้าว เป็นส่วนใหญ่
ตามสี่แยก พ่อค้าเอามะพร้าวหั่นเนื้อเป็นชิ้นๆ มาเร่ขายด้วย
ถ้าเป็นมะพร้าวอ่อน ก็คงมะพร้าวอ่อนแบบแข็งล่ะ
เพราะดูหนาๆแข็งๆ
คล้ายมะพร้าวที่เราเอาเข้าเครื่องกดพรืดออกมาเป็นมะพร้างสำหรับคั้นกะทิน่ะ นึกเสียดายตะหงิดๆ ที่ตอนนั้นไม่ได้ขอไปย่า (
คนขับรถ ) ถ่ายรูปเอาไว้ คือ พูดกันไม่รู้เรื่องอ่ะนะ
ส่งภาษาใบ้กันนำหน้า ตามด้วยภาษามือ
ภาษาสากลแบบภาษาอังกฤษไว้ทีหลังก็แล้วกัน ร้านขายขนมแบบ snack มีให้เห็นครือๆกับร้านผลไม้ เห็น lay แขวนเรียงเป็นตับหน้าร้าน แบบว่าใช่เลย ร้านขนมขบเคี้ยว
ไม่ได้แวะตามแผงเล็กน้อย แต่เที่ยวกลับ
จากไจเปอร์มานิวเดลลี ได้แวะที่พักรถ จึงได้พบว่า
ร้านขนมขบเคี้ยวจะขายพืชจำพวกถั่วต่างๆ ขนมคุกกี้
และช๊อคโกแล็ต น่ากิน อ่อ น้ำอัดลมด้วย รวมทั้งเมาเท่นดิว กิ๊ว กิ๊ว
บ้านเราไม่มีให้ดื่มแล้ว ไปเจอทั้งที
ก็ต้องจัดไป
ถ้ารักจะไปเที่ยวอินเดียแล้วรังเกียจฝุ่น
หรือความรุงรัง มองว่าอะไรๆก็สกปรก ไม่สวยงาม ก็อย่าไปให้เปลืองเงิน
เปลืองหัวใจเลย เพราะตามเส้นทางระหว่างเมือง
ก็ต้องเจอสภาพชนบท รกรุงรัง แบบที่ว่าๆกันไป
นี่ก็เสน่ห์แบบพื้นเมืองนะ เพราะคนเขาก็มีน้ำใจ อาจจะมองพวกต่างชาติ
แต่งตัวแปลก ทำตัวแปลกกันบ้าง รักจะไปที่ไหน
ก็ต้องเข้าใจวัฒนธรรมนั้นๆ
อินเดียก็มีเสน่ห์แบบอินเดีย
นึกจะว่าใคร มองบ้านเรา แม้ไม่รุงรังเท่าอินเดีย บางที่ก็ไม่แพ้กันหรอกน่า เพราะไปเที่ยวงานเทศกาลตามที่สาธารณะในบางที
เลิกงาน ก็สกปรกสะใจอยู่เหมือนกันนะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น