ข้อมูลที่อ่านๆมา Jaipur อ่านว่าไจเปอร์ คนอินเดียเรียกว่า ไจปูร์
คนไทยมักเรียกชัยปุระตามประวัติศาสตร์ว่างั้นนะ
อาคารเก่าแก่ที่นี่เป็นสีชมพูอมส้ม ถึงได้เรียกว่า นครสีชมพู สีชมพูที่ว่านี้มาจากทาสีนั้นแหละ ตามประวัติศาสตร์ ( ค้นจากพี่เกิ้ล) บอกว่าในสมัยของมหาราชา
Ram Singh ( ขณะนั้นอินเดียยังเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ
) ได้มาการทาสีบ้านเรือนเป็นสีชมพู เพื่อต้อนรับกษัตริย์ Edward VII ในสมัยที่ดำรงพระยศเป็น
Prince of Wales ผู้ร่วมทางทริปนี้
ตั้งสมมุติฐานว่า ดินที่เมืองนี้เป็นสีส้ม เอามาทำอิฐก็สีส้มๆ ก่อสร้างสิ่งไรๆ
ก็คงส้มๆไปหมด เลยทาสีชมพู (อมส้ม)
นี่เสียเลย ( เกี่ยวกันไหมเนี่ย ) จะอย่างไรก็แล้วแต่อาคารเก่าแก่ ป้อม ค่าย
พระราชวัง หลายแห่งจริงๆ
เราไปเที่ยวป้อมแอมเบอร์ ( Amber Fort ) ซึ่งอยู่บนเทิอกเขา
กว่าจะไปถึงขึ้นเขาลดเลี้ยว ยิ่งเดินทางเดือนเมษายนด้วยแล้ว ไม่ต้องบอกว่า
ร้อยขนาดไหน ต้นไม้สองข้าง ดูแห้ง แต่ไม่ตายนะ
คุณไกด์กิตติมศักดิ์ชาวไจเปอร์โดยกำเนิดบอกว่า พอถึงหน้าฝนก็ออกใบเขียวสวย ออกดอกสะพรั่งออกมา ฟังแล้วก็อยากมารอบใหม่
เอาเป็นปลายฝนต้นหนาวก็แล้วกัน ฟังแล้วประมาณว่า เดือนตุลาคม น่าจะเหมาะ พูดลดเลี้ยวนานพอแล้ว ถึงป้อมเสียที ถึงป้อมซึ่งเป็นปราการป้องกันพระราชวัง ชมป้อมแล้ว
ก็ยังต่อไปชมตัวพระราชวังที่ตั้งตระหง่านมหึมาอยู่บนยอดเขา
มองจากพระราชวังลงมาเห็นแนวกำแพงของป้อมคดเคี้ยวไปตามแนวเขา ยิ่งใหญ่ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากำแพงเมืองจีนเลย คันปากยิกๆ หันไปเม้าท์กับชาวทริปหน่อยว่า
นึกว่ามีแต่เมืองจีนที่ชอบ “ ต้า” ที่แปลว่ายิ่งใหญ่ มหาราชามันซิงห์ ( Man Singh ) ก็นิยมความยิ่งใหญ่เหมือนกัน ลักษณะของป้อมปราการเป็นสถาปัตยกรรมแบบผสมผสาน
ระหว่างอิสลาม และฮินดู โปรดดูภาพประกอบด้วยนะจ๊ะ อีชั้นมีความรู้งูๆปลาๆ
ว่าตามคุณเกิ้ล ว่าตามคุณไกด์ไปเท่านั้น ส่วนที่เป็น a must ที่คุณไกด์พาไป
คือ ชมปืนใหญ่ (มากกกกก) ไกด์บอกว่า ได้รับการบันทึกว่าเป็นปืนใหญ่ที่ในโลก
เขาบอกน้ำหนัก ความยาวมาเรียบร้อย แต่อีชั้นลืมแล้วจร้า อ้อ
ชะโงกมองด้านล่างแล้วไกด์ก็บอกว่าข้างล่างเป็นคูน้ำที่จัดเป็นระบบชลประทาน
มองดูให้น่าทึ่งมาก ท่ามกลางความร้อนแห้งแล้ง จะมีน้ำมากแค่ไหนหนอ เมื่อลงมาด้านล่าง คุณยามรักษาการณ์
พาไปชะโงกที่ช่องช่องหนึ่ง
ลมเย็นฉ่ำมาจากในนั้น แม่นแล้ว
มีน้ำข้างใต้ ไชโย้ น่าทึ่งจริงๆ
จากป้อมแอมเบอร์ ระหว่างทาง ก็ทำตนเป็นชะโงกทัวร์
ชะโงกดู Jal
Mahal หรือ Water
Palace ไทยเราเรียกว่าพระราชวังสายน้ำ อยู่กลางบึงใหญ่ สมาชิกทริปสงสัยว่า ขุดบ่อหรือไร
รึว่าบึงธรรมชาติ
สะกิดถามเพื่อนชาวไจเปอร์ที่ตกหลุมตกร่องโดยดึงตัวมาเป็นไกด์กิตติมศักดิ์ ได้ความว่าบึงธรรมชาติเจ้าค่ะ ตอนที่ตอบ
คุณไจเปี่ยน ( ชาวไจเปอร์
อีชั้นบัญญัติศัพท์เองคร่ะ ) แกทำหน้าฉงน แบบว่า หล่อนคิดได้ไงยะ
หาว่ามหาราชาชั้นสั่งให้ขุดบึง อะไรทำนองนั้น
พระราชวังสายน้ำนี้ไม่ได้เปิดให้คนเข้าชม
ทุกคนที่อยากชมก็ชะโงกทัวร์ทุกรายไป
ยัง ยังไม่หมดแรง ตรงเข้าเมืองไป City Palace อยู่ใจกลางเมือง ตรงย่านการค้าเลย ชาวผู้ชอบช้อปดูแล้วมาดมั่นไว้ในใจว่า
วันไหนช้อป จะจัดการเสียให้สิ้น ฮึ่ม
น้องไจเปี่ยนจูงเราเข้าไปข้างใน ถึงไม่จูงก็รีบเข้าโดยไว
เพราะอากาศร้อนมาก ต้องหาที่หลบ
ฝรั่งบางคนถ่ายรูปกับยามรักษาการณ์ และก็ต้องควักตังค์ให้ค่าถ่ายรูปอย่างที่คาด
แหม โชคดีที่ตามฝรั่ง เลยไม่ต้องจ่ายเงิน
แต่เท่าที่สังเกต
คิดว่าการถ่ายรูปแล้วรับเงินนี่คงไม่ถูกต้องตามกฎกติกาข้าราชการอินเดียดอก เพราะอีนี่นายจ๋านั่นหนีบๆ ลับๆล่อ รับเงิน หมายเหตุ แต่ก็รับไม่มีบิดพลิ้ว เพราะสะกิดบอกฝรั่งให้จ่ายเงินเอง ภายใน City Palace เป็นหมู่อาคาร จัดแสดงอาวุธบ้าง เครื่องแต่งกายบ้าง
เป็นร้านค้าของที่ระลึก เป็นศาลาว่าราชการ และมีส่วนที่เป็นที่ประทับของมหาราชาองค์ปัจจุบัน
ซึ่งจะมีธงชาติปลิวไสวอยู่ บอกให้รู้ว่าขระนนี้พระองค์ประทับอยู่ในวัง พระราชวังนี้สวยงามแบบศิลปะโมกุลกับราชปุตร ส่วนที่แสดงเสื้อผ้าของมหาราชา
มหารานีนี่สวยล้ำมาก ห้ามถ่ายรูป
จึงไม่มีมาให้ชม บันทึกไว้ในใจว่า สาหรี หรือ เครื่องการของมหารานีนั้น สวยมาก
สวยเหลือเกิน มีเส้นทองแทรกอย่างวิจิตร ลายปัก หรือ ถักทอ ก็สวยงามอยากจะแอบถ่ายรูป
แบบน้องไจเปี่ยน ก็มิกล้า
ได้แต่ยืนตะลึงแล นับว่าเป็นการเข้าชมที่ใช้เวลานานกว่าที่อื่นๆ แบบว่า สอดคล้องกับรสนิยม ว่างั้นเถอะ
ออกจาก City Palace คุณไจเปี่ยนถามคณะว่าจะไปดูพิพิธภํณฑ์ๆอื่นอีกไหม ขณะนั้นบ่ายคล้อยแล้ว ร้อนมาก พากันบ่นว่า
ตับจะแลบออกมาแล้ว คณะเด็กส่ายหัวแบบไทยว่าไม่เอาแล้ว คณะผู้ใหญ่นอกจากบ่นตับจะแลบ
ยังบ่นแถมว่า อยากถอดเท้าพาดคอ
เป็นอันว่าเราจะแค่ทัวร์ชะโงก
เฮ้อออ กลับมาแล้วก็เสียดาย
ไม่ได้ไปชมอีกหลายแห่ง
แต่เมื่อนึกถึงความร้อนเกิน 40 องศาเซลเชียสในวันนั้นแล้ว
ก็เป็นอันว่ายอมแพ้แก่สังขาร
คณะเราจึงได้ชะโงกทัวร์ชมพระราชวังสายลม Hawa Mahal ชื่ออังกฤษ คือ Palace of
the Wind ซึ่งอยู่ใกล้ๆนั้นเอง ก่อนมาไจเปอร์ ได้เห็นภาพ Hawa Mahal มามากแล้ว ประทับใจ อยากดูสุดๆ
มาถึงแล้วอยากจะกรี๊สสสส
ทำไมร้านค้ามันบดบังส่วนล่าง
ป้ายนั่น เสานี่ เสียใจจริง
พระราชวังซ้วยสวย ถูกหลังคาร้านขายของบดบังไปบางส่วน พระราชวังนี้เคยเป็นที่ประทับของมหาราชา
เป็นอาคาร 5 ชั้น รูปแบบสถาปัตยกรรมกุลผสมผสานเปอร์เชีย (
เขาว่ามาดังนั้น จินนี่อยู่ในขวด หามีความรู้ใดไม่ ) ที่เด่นจัด คือ
หน้าต่างจำนวนมาก คุณเกิ้ลบอกว่า มี 152 ช่อง
แต่ละช่องมีลวดลายฉลุสวยงาม
เป็นช่องระบายอากาศด้วย ให้ผู้ที่อยู่ข้างในมองเห็นภายนอกด้วย ว่ากันตามที่อ่านมา
เขาบอกว่าให้นางสนมกำนัลในชมวิวทิวทัศน์นอกวัง
แต่น้องไจเปี่ยนบอกว่า ให้มหาราชา มหารานี ( และใครอื่น ) ได้มองเห็นความเป็นไปภายนอก
ถ้ามีอะไรที่ไม่ปกติ ไม่ดี จะได้ทราบล่วงหน้า ทำนองนั้น
เป็นอันว่าการชมเมืองไจเปอร์ในเชิงวิชาการทางด้านประวัติศาสตร์
ศิลปะ และสถาปัตยกรรม ได้เสร็จสิ้นอย่างพร้อมเพรียงด้วยความพร้อมใจของทุกฝ่าย
ทั้งคนขับรถ คงบอกว่า ฉานเหนื่อยน่ะนาย
น้องไจเปี่ยน ซึ่งเห็นทุกสิ่งอย่างมาแต่อ้อนแต่ออกก็ต้องกรำแดดมาพาคณะไทยไปเที่ยว
(ขอรำลึกถึงพระคุณด้วยใจจริงมา ณ ที่นี้ด้วย ) คณะเด็กทำท่าหดหู่มานานแล้ว
เพราะถูกแดดเผาจนเฉาไป แถมในสายตาของเด็ก คงจะไม่เห็นงามอะไรนักหนา คณะผู้ใหญ่ ตื่นเต้นวู้ว๊ายก็จริงอยู่
แต่โดนแดดเผาเหมือนดอกไม้เหี่ยวกันไปแล้ว
ดังนั้น การชมเมือง ณ บัดนั้น คือ นั่งชมจากในรถ ใช้ความเร็วกดชัตเตอร์เอาเอง คำบรรยายไม่มี
คะเนเอาเองว่า นี่วัด นี่วัง
นี่สวนสาธารณะ นี่อนุสาวรีย์ อนึ่ง
วันที่เราไปเที่ยวกันนั้น เป็นวันหยุดราชการ ที่เกี่ยวข้องกับศาสนา จำไม่ได้
และไม่เข้าใจว่าชื่อของ เทพองค์ใด แต่ที่แน่ๆ
คือ ขบวนแห่แหน ในตัวเมือง ชาวเมืองเดินขวักไขว่
ไปประกอบพิธีทางศาสนา นักเรียนแต่งเครื่องแบบไปร่วมงาน ( สงสัยโดนเกณฑ์ คริ คริ
ใช้มาตรฐานคนไทยคะเนเอานะ )
ผู้คนที่เดินไปมา แต่งตัวด้วยสาหรีสีสดๆ
ไม่แน่ใจว่าเป็นธรรมเนียมนิยมหรืออย่างไร มีคนที่แต่งกายคล้ายนักบวชอยู่หลายคนเหมือนกัน สรุปเอาเองว่า ชาวเมืองนี้ เลื่อมใสศาสนา
และปฏิบัติศาสนกิจกันเป็นจำนวนมาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น